โครงการอบรมนักศึกษาช่วยงานสำหรับ Creative Minds STEM Contest

โครงการอบรมนักศึกษาช่วยงานสำหรับ Creative Minds STEM Contest

Creative Minds STEM Contest เป็นโครงการที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำหรับการดำเนินงานทางด้านสะเต็มศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาครู นักเรียน/นักศึกษา ของสถานศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการซึ่งเป็นการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล โดยการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา มจพ. (KMUTNB STEM Education) มุ่งเน้น 3 ทิศทาง ได้แก่ 1) หุ่นยนต์ (Robots) 2) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things) หรือ IoT และ 3) วิทยาศาสตร์ (Science) ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ STEM จึงได้ทำการบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีเครื่องพิพม์พลาสติกสามมิติ การเขียนโปรแกรมแบบบล็อค และฝึกทักษะด้านวิศวกรรมจากแผงวงจรไมโครคอลโทรลเลอร์ Micro:bit เพื่อก้าวสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ในอนาคต

KMUTNB STEM Education มุ่งเน้นและส่งเสริมโดยครอบคลุม 3 ด้าน
1) ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงกับการปฏิบัติจริงพร้อมการฝึกทักษะภาคปฏิบัติ
2) ด้านความคิด ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และ
3) ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนมีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทักษะการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้

การอบรมนักศึกษาช่วยงานสำหรับ Creative Minds STEM Contest มีกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วย การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไฟฟ้า-กลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การออกแบบ 3D model การสั่งพิมพ์วัตถุผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติ การต่อวงจรไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ และทักษะการโค้ดดิ้งแบบบล็อคด้วย MicroBit เพื่อที่ผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ในการประกอบหุ่นยนต์ขับเคลื่อนตามการควบคุมด้วยคลื่นวิทยุระหว่างบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์

วิทยากร
ดร.ดนุชา ประเสริฐสม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสรตร์ มจพ.
ดร.ยืนยง นิลสยาม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสรตร์ มจพ.
ผศ. ดร.ศิฬาณี นุขิตประสิทธิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ.

ณ ศูนย์สะเต็ม ชั้น 5 อาคาร 97
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กทม.


วันแรก

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน และพิธีเปิด
09.00-10.15การบรรยายเทคโนโลยีและการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติและการออกแบบโมเดลสามมิติด้วยสมการคณิตศาสตร์
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00การบรรยายการสร้างนวัตกรรมสามมิติจากเครื่องพิมพ์สามมิติ
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30การฝึกปฏิบัติการออกแบบโมเดลสามมิติสำหรับนวัตกรรมสามมิติ
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00การฝึกปฏิบัติการออกแบบโมเดลสามมิติสำหรับนวัตกรรมสามมิติ (ต่อ)

วันที่สอง

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน
09.00-10.15การฝึกปฏิบัติการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ด
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00การฝึกปฏิบัติการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นกับอิเล็กทรอนิกส์บอร์ดตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30การฝึกปฏิบัติการประกอบชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00การฝึกปฏิบัติการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ดสำหรับชิ้นงานตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
16.00-16.30พิธีปิดและมอบวุฒิบัตร

รายชื่อนักศึกษา

1   นางสาวธรัญธร กวีธนกุล วุฒิบัตร
2   นางสาวณิชาพัฒน์ ไวทยธนพันธ์ วุฒิบัตร
3   นางสาวสุพิชฌาย์ เล็งวัฒนากิจ วุฒิบัตร
4   นายกฤษณ์เพชร์ สินธนะกุล วุฒิบัตร
5   นางสาวชนกนันท์ สิงห์ใจดี วุฒิบัตร
6   นางสาวพิชฎาณัฏฐ์ พรหมหนู วุฒิบัตร